เมนู

เป็นอารมณ์. บทว่า สีโห อนุตฺตโร ความว่า ตถาคต ชื่อว่า สีหะ
ผู้ยอดเยี่ยม เพราะอรรถว่า ทรงอดกลั้นอันตรายทั้งหลาย และเพราะอรรถว่า
กำจัดกิเลสทั้งหลาย. บทว่า พฺรหฺมํ แปลว่า ประเสริฐ. บทว่า อิติ ความว่า
รู้คุณของตถาคตอย่างนี้. บทว่า สงฺคมฺม ได้แก่ มาประชุมกันแล้ว. บทว่า
นํ คือพระตถาคต. บทว่า นมสฺสนฺติ ความว่า เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น
ถึงพระตถาคตนั้นเป็นสรณะแล้ว นอบน้อมอยู่. บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงถึง
ท่านผู้ที่เทวดาและมนุษย์นอบน้อมกล่าวถึงอยู่ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ทนฺโต
ดังนี้ . คำนั้น มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาโลกสูตรที่ 3

4. กาฬกสูตร


ว่าด้วยอารมณ์ 6


[24] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ วัดกาฬการาม
นครสาเกต ฯลฯ ตรัสพระธรรมเทศนาว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่โลกกับทั้งเทวโลกมารโลกพรหมโลก
หมู่สัตว์ทั้งเทวดามนุษย์ทั้งสมณพราหมณ์ ได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ได้ทราบ
แล้ว ได้รู้แล้ว ได้ประสบแล้ว ได้แสวงหาแล้ว ได้คิดค้นแล้ว เราก็รู้
สิ่งนั้น สิ่งใดที่โลก ฯลฯ ทั้งสมณพราหมณ์ได้เห็นแล้ว ฯลฯ ได้คิดค้นแล้ว
เรารู้ด้วยปัญญาอันยิ่งแล้วซึ่งสิ่งนั้น สิ่งนั้นปรากฏแก่ตถาคต แต่สิ่งนั้นไม่
ปรากฏในตถาคต (คือตถาคตไม่ติดพัวพันสิ่งนั้น)

ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่โลก ฯลฯ ทั้งสมณพราหมณ์ได้เห็นแล้ว ฯลฯ
ได้คิดค้นแล้ว เราจะพึงกล่าวว่า เราไม่รู้สิ่งนั้น คำนั้นจะพึงเป็นคำมุสา
ของเรา . . .หากเราจะพึงกล่าวว่า เรารู้บ้าง ไม่รู้บ้าง คำนั้นต้องเป็นคำมุสา
. . . คำกลีของเรา หากเราจะพึงกล่าวว่า เรารู้ก็มิใช่ ไม่รู้ก็มิใช่ แม้คำนั้น
ก็ต้องเป็นคำมุสา. . . คำเป็นโทษของเราเช่นเดียวกัน
อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเห็นสิ่งพึงเห็นได้. แต่ไม่สำคัญว่า
ได้เห็น ไม่สำคัญว่าไม่ได้เห็น ไม่สำคัญว่าต้องเห็น ไม่สำคัญต่อบรรดาสิ่ง
ที่เห็นแล้ว ได้ยินสิ่งที่พึงได้ยินได้ แต่ไม่สำคัญว่าได้ยิน ไม่สำคัญว่าไม่ได้ยิน
ไม่สำคัญว่าต้องได้ยิน ไม่สำคัญต่อบรรดาสิ่งที่ได้ยินแล้ว ได้ทราบสิ่งที่
พึงทราบได้ แต่ไม่สำคัญว่าได้ทราบ ไม่สำคัญว่าไม่ได้ทราบ ไม่สำคัญว่า
ต้องทราบ ไม่สำคัญต่อบรรดาสิ่งที่ได้ทราบแล้ว รู้สิ่งที่พึงรู้ได้ แต่ไม่
สำคัญว่าได้รู้ ไม่สำคัญว่าไม่ได้รู้ ไม่สำคัญว่าต้องรู้ ไม่สำคัญต่อ
บรรดาสิ่งที่รู้แล้ว
อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้คงที่อยู่เช่นนั้นในธรรม
ทั้งหลาย อันพึงได้เห็นได้ยินได้ทราบได้รู้ และเรากล่าวว่าผู้คงที่อื่นที่ยิ่งกว่า
หรือประณีตกว่าตถาคตผู้คงที่นั้น ไม่มี
สิ่งที่ได้เห็นได้ยิน และได้ทราบ
ทุกอย่าง ที่คนเหล่าอื่นหลงติดใจ สำคัญ
คิดไปว่าจริงจัง ตถาคตเป็นผู้คงที่ในสิ่ง
เหล่านั้นอันพระองค์สำรวมอยู่ดีแล้วไม่พึง
เชื่อคำคนอื่นทั้งจริงทั้งเท็จ.

เราเห็นลูกศรอันนี้มาแต่แรกแล้ว
ประชาชนติดใจข้องอยู่ในสิ่งใด เรารู้เห็น
สิ่งนั้นอย่างนั้นเหมือนกัน แต่ความติดใจ
ไม่มีแก่ตถาคตทั้งหลาย.

จบกาฬกสูตรที่ 4

อรรถกถากาฬกสูตร


กาฬกสูตรที่ 4 ตั้งขึ้นเพราะอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง ถามว่า เหตุเกิด
เรื่องอะไร ตอบว่า เรื่องพระคุณของพระทศพล.
ได้ยินว่า นางจูฬสุภัททา ธิดาของอนาถบิณฑิกะหมายใจ จัดไปเป็น
แม่เรือนของบุตรกาฬกเศรษฐี ณ นครสาเกต จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักไปมีสามี ณ ตระกูลของคนมิจฉาทิฏฐิ
ถ้าข้าพระองค์จักได้รับนับถือในตระกูลนั้น เมื่อจะส่งบุรุษคนหนึ่งมา ก็จัก
เนินช้า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์โปรดนึกถึงข้าพระองค์บ้าง
ดังนี้ ได้รับการรับรองแล้วก็ไป ท่านกาฬกเศรษฐีคิดว่า ลูกสะใภ้ของเรามา
แล้ว เมื่อทำงานมงคลจึงได้จัดของกินและของบริโภคเป็นอันมาก ได้เชิญ
ชีเปลือย 500 มา. เมื่อชีเปลือยเหล่านั้น นั่งแล้ว. ท่านเศรษฐี จึงส่ง
คนไปบอกนางจูฬสุภัททาว่า ลูกสาวของพ่อจงมาไหว้พระอรหันต์. อริยสาวิกา
ผู้บรรลุผลแล้ว พอเขาพูดว่า พระอรหันต์เท่านั้นก็ลุกขึ้นไปด้วยคิดว่า ลาภ
ของเราหนอ. พอได้เห็นชีเปลือยซึ่งแสดงว่าไม่มีศักดิ์ศรีเหล่านั้น จึงพูดว่า
คุณพ่อขา ธรรมดาสมณะทั้งหลาย ไม่ใช่ไม่มีหิริภายใน ไม่ใช่ไม่มีโอตตัปปะ